วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เปลี่ยน'โน๊ตบุ๊ค'ให้เป็น'สมาร์ทบุ๊ค'

ยัง ไม่ทันที่คนทั่วๆ ไปจะเข้าอกเข้าใจแนวความคิดของ "เน็ตบุ๊ก" แล็ปทอปตัวจิ๋วกันได้ดีเพียงพอแม้ว่ามันจะขายดิบขายดีจนสร้างปรากฏการณ์ให้ กับวงการสินค้า อิเล็กทรอนิกส์ ก็มีแนวคามคิดใหม่ที่จะ ผลักดัน "สมาร์ตบุ๊ก" ออกมาอีกแล้ว โดยในงานคอมพิวเท็กซ์ที่ไต้หวันสัปดาห์นี้มีออกมาโชว์ตัวให้ดู



ผลักดันโดยควอลคอมม์ และฟรีสเกล ผู้ผลิตชิปเออาร์เอ็ม
ดู เผินๆ คล้ายกับจะเป็นการพยายามยกระดับเน็ตบุ๊กขึ้นไปอีกระดับ งานนี้มีข่าวว่าหลายบริษัทจะกระโดดเข้าร่วมหัวจมท้าย กับสมาร์ตบุ๊ก ไล่มาตั้งแต่ บรอดคอม, เอ็นวิเดีย จนถึงอะโดบี

แต่เอาเข้าจริงๆ ก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปนัก น่าจะเป็นเกมธุรกิจที่จะช่วงชิงตลาดแล็ปทอปจิ๋วราคาถูกจากชิปอะตอมของอินเท ลที่ครองตลาดส่วนใหญ่อยู่

กลุ่มนี้ต้องการให้แล็ปทอปจิ๋วที่จะหันมาใช้ชิปเออาร์เอ็ม เรียก

ขานกันว่า "สมาร์ตบุ๊ก" แทนคำว่า "เน็ตบุ๊ก" ที่ใช้กันอยู่เดิมจนติดตลาดไปแล้ว

สิ่ง ที่พอเห็นว่าอาจจะเปลี่ยนปลงไปจากเดิมก็คือ ราคาขายโดยเปรียบเทียบว่าน่าจะถูกกว่าเน็ตบุ๊ก ขณะที่มาตรฐานแบตเตอรี่ใช้งานได้นานกว่า โดยจะใช้ได้ถึง 8 ชั่วโมง แต่สิ่ง
ที่สูญเสียไปคือพลังประมวลผลต่ำกว่าอะตอม นั่นทำให้สมาร์ตบุ๊กต้องพึ่งพาระบบปฏิบัติการลีนุกมากกว่าวินโดวส์

จุด สำคัญอยู่ตรงที่เชื่อมสมาร์ตโฟนไว้ในตัวสมาร์ตบุ๊ก โดยอาศัยความสามารถพิเศษของชิป โดยเฉพาะ "สแนปดรากอน" ของควอลคอมม์ ซึ่งจะมีใช้อยู่ในอุปกรณ์ โมบายต่างๆ ร่วม 30 ชนิด สมาร์ตบุ๊กเป็นหนึ่งในนั้น

ด้วยชิปตัวเดียวนี้ทำให้สมาร์ตบุ๊ก สามารถเชื่อมต่อได้ทั้งไว-ไฟ, เซลลูลาร์ 3G, GPS ตลอดจนบลูทูท น้ำหนักไม่ถึง 1 กิโลกรัม และความหนาไม่ถึง 20 ม.ม.

ผู้ผลิตที่มีแนว โน้มจะผลิตสมาร์ตบุ๊กแล้วเวลานี้อย่างน้อยๆ 2 ราย คือ อัสซุส และ ซัมซุง คาดว่าราวๆ ต้นปีหน้าน่าจะได้เห็น ต้องคอยดูกันว่าระหว่างแนวคิดทำพีซีให้เล็กลงของอินเทลกับทำสมาร์ตโฟนให้ ใหญ่ขึ้นของควอลคอมม์ ใครจะยืนระยะไปได้ยาวกว่ากัน

หรือในที่สุดแล้วมันจะกลืนเข้าหากันในโลกของโมบายคอมพิวติ้งยุคใหม่ เพราะฝั่งอินเทลเองก็ไม่หยุดพัฒนาชิปของตัวเองแน่ๆ อยู่แล้ว

แต่สุดท้ายก็คงตัดสินกันที่ความต้องการของผู้ซื้อนั่นเอง

ขอบคุณ หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ ไอทีทะลุโลก
โดย siripong@kidtalentz.com


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น